วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2552

ข่าวเทคโนโลยีการศึกษา

ข่าวเทคโนโลยีการศึกษา

Trooper Charity Trip Episode 4 จากพี่สู่น้องผู้มองไม่เห็น 18 ธ.ค. 50 14:33
-->
ชมรม Trooper Club Thailand ทำโครงการ Trooper Charity Trip Episode 4 จากพี่สู่น้องผู้มองไม่เห็น โดยนายศุภชัย สุโฆษิต เป็นตัวแทนมอบเงินจำนวน 83,759 บาท ให้กับ นางชนิดาภา เพชรรักษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด โครงการดังกล่าวเป็นการร่วมสมทบทุนผลิต Dictionary Eng-Thai ฉบับอักษรเบรลล์ เพื่อผู้พิการทางสายตา ได้มี Dictionary ไว้ใช้เพื่อเรียนรู้และพัฒนาการศึกษาด้านภาษาอังกฤษต่อไป โดย Dictionary Eng-Thai ฉบับอักษรเบรลล์ดังกล่าวจะมอบให้กับโรงเรียนที่สอนผู้พิการทางสายตา 50 แห่งทั่วประเทศ ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด www.blind.or.th หรือที่รู้จักในชื่อ “ห้องสมุดคอลฟิลด์” หนึ่งในหน่วยงานของมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ในด้านการศึกษาและสาระบันเทิงต่างๆ สำหรับคนตาบอด ที่เปิดให้บริการกับผู้พิการทางสายดามานานถึง 30 ปี ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “การศึกษาเป็นปัจจัยสำคัญที่จะก่อให้เกิดการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ทางด้านความรู้ ความคิด สติปัญญา และจริยธรรม เพื่อให้เกิดการเพิ่มพูนขึ้นไม่ว่าจะทางกายหรือจิตใจ และการศึกษาจึงน่าจะทำให้คนผู้พิการทางสา อ่านต่อ...
มูลนิธิทีเอชนิค เชิญชวนคนใช้คอมฯ เข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ"ใช้คอมฯ อย่างสร้างสรรค์ รู้ทันโรคภัย" 13 ม.ค. 52 09:58
มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (ทีเอชนิค) ในฐานะผู้ทำหน้าที่บริหารจัดการฐานข้อมูลชื่อโดเมนระดับบนสุด .th ประกาศผล 6 โครงงานที่ได้รับการอนุมัติให้ดำเนินการ ในโครงการ "ใช้คอมฯ อย่างสร้างสรรค์ รู้ทันโรคภัย" ภายใต้การดูแลของ รศ. ดร.โคทม อารียา ประธานมูลนิธิฯ เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม ที่ผ่านมา โดยโครงงานต่างๆ อ่านต่อ...
สสวท.ชวนเติมพลังสมองกับรายการวิทยาศาสตร์รอบตัว ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 17.30 น. สถานีโทรทัศน์ NBT 13 ต.ค. 51 16:43
นางสาวนารี วงศ์สิโรจน์กุล รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ชวนเชิญเยาวชนและผู้สนใจเติมความรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์กับรายการวิทยาศาสตร์รอบตัว ทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 17.30 น. สถานีโทรทัศน์ NBT เริ่มตอนแรกวันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม 2551 นี้ พิเศษสุดสำหรับเดือนตุลาคมร่วมกันไขข้อข้องใจกับความรู้เรื่อง “เมลามีน” อ่านต่อ...
มสธ. เปิดสอนชุด e-Learning 67 ชุดวิชา ประจำปีการศึกษาที่ 1/2551 8 ส.ค. 51 16:09
แจ้งข่าวสำหรับนักศึกษา มสธ. ศูนย์คอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.) เปิดสอนชุด e-Learning ในภาคการศึกษาที่ 1/2551 จำนวน 67 ชุดวิชา เพื่อเป็นช่องทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนให้กับนักศึกษา โดยแยกเป็นระดับ ปริญญาตรี จำนวน 19 ชุดวิชา ระดับปริญญาโท 43 ชุดวิชา และระดับปริญญาเอก จำนวน 5 ชุดวิชา ทั้งนี้นักศึกษาสามารถเข้าใช้ระบบ STOU e-Learning อ่านต่อ...
มสธ.พัฒนาภาษาอังกฤษด้วยชุด It Works 15 ก.ค. 51 16:02
ศูนย์บริการการสอนทางวิทยุและโทรทัศน์ สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ร่วมกับ ศูนย์พัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้จัดทำDVD ชุด It Works มี 6 แผ่นประกอบด้วย TOURISM FASHION HEALTH&SPA FOOD AUTO IT อ่านต่อ...
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญชวนผู้สนใจทั่วไป ส่งภาพวาด-ภาพถ่ายหัวข้อ “เฉลิมฉลอง ๑๒๐ ปีศิริราช” 9 ม.ค. 51 14:12
ขอเชิญชวนผู้สนใจทั่วไป ส่งภาพวาด-ภาพถ่ายหัวข้อ “เฉลิมฉลอง ๑๒๐ ปีศิริราช” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว องค์ผู้พระราชทานกำเนิดรพ.ศิริราช ภาพวาด สีน้ำและสีน้ำมันหรืออะคริลิค ขนาดภาพไม่เกิน ๕๘ x ๗๕ ซม. ส่งได้ ๑ ภาพต่อ ๑ ท่าน ต่อ ๑ ประเภท / ภาพถ่ายสี ขนาด ๘ x ๑๐ นิ้ว ส่งได้ ๑ – ๕ ภาพ ต่อ ๑ ท่าน ระยะเวลาของภาพทั้ง ๒ ประเภทต้องไม่เกิน ๒ ปี ห้ามมีภาพพระบรมวงศานุวงศ์ อ่านต่อ...
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญฟังเสวนา เรื่อง “โฉมหน้าใหม่ของศิริราชในยุคความร่วมมือกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์” 9 ม.ค. 51 14:03
สถานเทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ และ งานจดหมายเหตุ พิพิธภัณฑ์การแพทย์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ม.มหิดล ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมฟัง การเสวนาประวัติศาสตร์การแพทย์ไทย บอกเล่าเรื่องเล่าราวจากประสบการณ์ ชุดอาจารย์ เล่าเรื่องในศิริราช เรื่อง “โฉมหน้าใหม่ของศิริราชในยุคความร่วมมือกับมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์” ในวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๕.๐๐ น. ณ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ตึกสยามินทร์ ชั้น ๒ สำรอง อ่านต่อ...
ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด ขอเชิญชวนร่วมผลิต Dictionary Englisth-Thai ฉบับอักษรเบรลล์ 22 ต.ค. 50 14:59
ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอดแห่งประเทศไทย เชิญผู้มีจิตศรัทธา ร่วมผลิต Dictionary Englisth-thai ฉบับอักษรเบรลล์ ให้กับโรงเรียนที่สอนผู้พิการทางสายตา เพื่อเด็กนักเรียนผู้พิการทางสายตาได้มี Dictionary ไว้ใช้อย่างทั่วถึง ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษาเพื่อคนตาบอด หรือที่รู้จักในชื่อ “ห้องสมุดคอลฟิลด์” หนึ่งในหน่วยงานของมูลนิธิช่วยคนตาบอดแห่งประเทศไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ในด้านการศึกษาและสาระบันเทิง อ่านต่อ...
รมช. ศธ. กระตุ้นเด็กไทยรักเรียนวิทย์ ฝาก สสวท. เร่งขยายผลจับมืออุดมศึกษาปั้นครูเก่ง 3 พ.ค. 50 10:09
รศ. ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ ได้ให้นโยบายแก่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในโอกาสที่เดินทางมาเยี่ยมและพบปะผู้บริหาร สสวท. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2550 ที่ผ่านมา ณ ห้องประชุมสนั่น สุมิตร อาคารปฏิบัติการ สสวท. ว่า ปัจจุบันวัตถุดิบทั้งหลายไม่สำคัญเท่ากับความรู้ เพราะความรู้สามารถเพิ่มความมั่งคั่งของสังคมได้ ต่อให้ประเทศใดที่มีวัตถุดิบหรือทรัพยากรมากแต่มีความสามารถทางการผลิตต่ำก็ทำอะไรไม่ได้ อ่านต่อ...
ซัม ซิสเท็ม ผู้นำนวัตกรรม e-Learning โชว์โปรเจ็คยักษ์ 200 ลบ.เตรียมส่ง Education Sphere Server กินตลาดข้ามชาติ 23 ม.ค. 50 17:20
นางสาวอุบล สุทธนะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซัม ซิสเท็ม จำกัด ผู้นำในธุรกิจการผลิต และพัฒนาระบบไอทีเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษา ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เปิดเผยถึงความสำเร็จตลอด 9 ปีของการดำเนินธุรกิจ ในฐานะผู้นำด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา พร้อมเตรียมรุกตลาดมากขึ้น โดยบริษัทฯได้นำเสนอโปรเจ็คด้านการศึกษาที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของลูกค้ามูลค่ากว่า 200 ล้านบาท ด้วยการนำเสนอโซลูชั่นหลักๆ อ่านต่อ...
ซัม ซิสเท็ม จัดงานครบรอบ 10 ปี บริษัท ซัม ซิสเท็ม จำกัด 19 ม.ค. 50 18:30
บริษัท ซัม ซิสเท็ม จำกัด จัดงานครบรอบ 10 ปี ผู้นำนวัตกรรมเทคโนโลยีไอทีด้านการพัฒนา บริหารจัดการการศึกษาออนไลน์ วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 เวลา 18.30 – 20.00 น. ณ อาคารสำนักงานแห่งใหม่ 5 ชั้น เลียบทางด่วนเอกมัย-รามอินทรา ถนนนวมินทร์ “ซัม ซิสเท็ม” ผู้นำนวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษาโปรแกรม Education Sphere และอีกหลาก โซลูชั่น ก้าวสู่ปีที่ 10 ของความสำเร็จในการเป็นผู้ช่วยมือฉมังให้กับองค์กรและสถาบั อ่านต่อ...
แสงโสม จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวกิจกรรม “แสงโสม ทัวร์ เดอ ไทยแลนด์ 2006” 8 พ.ย. 49 14:00
ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนร่วมงานแถลงข่าวเปิดตัวกิจกรรม “แสงโสม ทัวร์ เดอ ไทยแลนด์ 2006” ซึ่งจะจัดขึ้นใน วันพุธที่ 8 พ.ย. 2549 เวลา 14.00 น.-16.00น. ณ สำนักงานใหญ่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 1600 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพ ฯ ทัวร์ เดอ ไทยแลนด์ ทัวร์ เดอ ไทยแลนด์ กิจกรรมการปั่นจักรยานการกุศลนานาชาติประจำปี จัดโดยบริษัท ทัวร์ เดอ เอเชีย ไบซิเคิ่ล ทัวร์ริ่ง จำกัด ภารกิจของ ทัวร์ เดอ อ่านต่อ...
ภาพข่าว: การเปิดงานเครื่องช่วยฟัง Inteo 31 ก.ค. 49 09:00
ดร.วัชระ พรรณเชษฐ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน Inteo Launch “กลับมาได้ยิน คนรอบข้าง...อีกครั้ง” ในวันพุธที่ 26 กรกฎาคม 2549 ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต บริษัท ศูนย์การได้ยินดีเมด จำกัด (DMED HEARING CENTER) ประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท Widex ประเทศเดนมาร์ค ได้จัดงานเปิดตัวเครื่องช่วยฟังรุ่น Inteo โดยได้รับเกียรติจาก

วันอังคารที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2552

บทความทางวิชาการ

บทความทางวิชาการ
สารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา

การจัดการสารสนเทศ เป็นลักษณะที่พบเห็นทั่วไปในแวดวงที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศและจัดการด้านต่าง ๆ โดยเป็นที่ยอมรับกันว่าการจัดการสารสนเทศมีความสำคัญต่อองค์กรและหน่วยงาน โดยเฉพาะสารสนเทศที่ได้มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของบันทึก จดหมายโต้ตอบ รายงาน เทปบันทึกการประชุม วีดีทัศน์ประกอบการนำเสนอ ฐานข้อมูลบุคลากร ฐานข้อมูลบัญชี แบบฟอร์มการลา ฯลฯ โดยสารสนเทศเหล่านี้ล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรเป็นอย่างยิ่ง
ระบบสารสนเทศในองค์กรหรือระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการสารสนเทศต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมเพิ่มความสามารถในการแข่งขันขององค์กรในยุคโลกาภิวัตน์ที่เกิดกระแสความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมอย่างรวดเร็ว ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ ต่างเล็งเห็นถึงความจำเป็นของระบบสารสนเทศเพื่อรองรับการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 2549 : 25)
ในส่วนของสถานศึกษา การมีสารสนเทศที่เป็นระบบ ก็มีความจำเป็นและมีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะความสำคัญของการจัดการสารสนเทศอย่างมีระบบ ทำให้สามารถมีข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้านต่าง ๆ ผู้บริหารจึงต้องตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ ว่าต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบทั้งในระดับปฏิบัติการ ระดับจัดการและระดับกลยุทธ์ เพราะส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและโปร่งใส
สถานศึกษาที่มีระบบสารสนเทศที่สมบูรณ์ ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน เรียกใช้ได้สะดวกและตรงตามความต้องการ จะช่วยให้สถานศึกษาสามารถดำเนินงานพัฒนาคุณภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการสร้างความมั่นใจที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักวิชา หลักฐานข้อเท็จจริงที่สามารถตรวจสอบได้ มีกระบวนการวิเคราะห์และประมวลผลที่เป็นวิทยาศาสตร์ หลักตรรกและความสมเหตุสมผล เพราะสารสนเทศทั้งหลายนั้นนอกจากจะใช้ในการวางแผนการดำเนินงานและประกอบการตัดสินใจแล้ว ยังนำไปสู่การพัฒนาแนวความคิด และสร้างทางเลือกใหม่ๆ ในการดำเนินการต่างๆ โดยระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ที่ประกอบด้วย (1) ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา (2) ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน (3) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ (4) ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ โดยระบบสารสนเทศแต่ละระบบเหล่านี้มีรายละเอียดโดยสังเขปดังต่อไปนี้
1. ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา
ระบบสารสนเทศพื้นฐานของสถานศึกษา ประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับภาพรวมของสถานศึกษา สภาพเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ความต้องการของ ชุมชน สภาพการบริหารและการจัดการตามโครงสร้างและภารกิจ เป็นต้น โดยมีตัวอย่างรายงานในระบบสารสนเทศ เช่น ข้อมูลทั่วไปของสถานศึกษา
ศักยภาพของสถานศึกษา ความต้องการของชุมชน แนวโน้มการพัฒนาท้องถิ่น แนวทางการจัดการศึกษา และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา/คณะกรรมการนักเรียน เป็นต้น
2.ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวกับผู้เรียน
ระบบสารสนเทศเกี่ยวกับผู้เรียน เป็นระบบสารสนเทศที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้เรียนทั้งหมด โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ผลงานและการแสดงออกของผู้เรียน รูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นต้น
3.ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานวิชาการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารวิชาการ เป็นการจัดระบบสารสนเทศเกี่ยวกับหลักสูตรและการเรียนการสอน การวัดและการประเมิน ผลการพัฒนากิจกรรมแนะแนวและการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ เช่น หลักสูตรและการเรียนการสอน การวัดและการประเมินผลการเรียน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน/กิจกรรมแนะแนว การวิจัยในชั้นเรียน เป็นต้น
4.ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ เป็นระบบสารสนเทศที่ต้องมีการประมวลผลรวม มีการเปรียบเทียบข้อมูลอย่างถูกต้องและทันสมัยจึงมีความหมายต่อการจัดการและการบริหารงานอย่างเต็มที่และมีประสิทธิภาพ โดยมีตัวอย่างรายงานของระบบสารสนเทศ เช่น สภาพการบริหารและการจัดการ ความสอดคล้องระหว่างวิสัยทัศน์ ภารกิจและเป้าหมายการพัฒนา สภาพและบรรยากาศการเรียนรู้ ทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวก การพัฒนาวิชาชีพ ความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับผู้ปกครองและชุมชน เป็นต้น
การพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา

ชลาลัย นิมิบุตร[*]

วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นคำที่นักวิชาการได้ให้ความสนใจ และพยายามให้ความหมายแตกต่างกันไปมากมาย จนอาจเกิดความสับสนว่ากำลังกล่าวถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร หรือวิสัยทัศน์ขององค์กรกันแน่ อย่างไรก็ตามความหมาย ของวิสัยทัศน์สามารถสรุปได้ในแนวทางเดียวกันคือ วิสัยทัศน์ หมายถึง ภาพในอนาคตขององค์กรซึ่งได้มาจากปัญญา ความคิดโดยภาพนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานของความจริง มีความเป็นไปได้ ดึงดูดใจให้ปฏิบัติตาม สอดคล้องกับเป้าหมายและภาระหน้าที่ขององค์กรอันจะทำให้องค์กรมีสภาพดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เมื่อพิจารณาจากความหมาย ของวิสัยทัศน์จะเห็นว่า วิสัยทัศน์มีลักษณะเป็นภาพ สถานศึกษาไม่สามารถที่จะสร้างภาพด้วยตนเองได้ แต่จะมองเห็นอนาคตขององค์กรผ่านผู้บริหารสถานศึกษาว่าจะกำหนดทิศทางและแนวทางการดำเนินงานของสถานศึกษาอย่างไรจึงจะเหมาะสม ดังนั้นวิสัยทัศน์ที่จะกล่าวถึงในบทความนี้จะหมายถึงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้บริหารสถานศึกษาทุกคนจะต้องมีเพื่อนำการเปลี่ยนแปลง มาสู่สถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เป็นพลวัตรเช่นในปัจจุบัน และผู้เขียนจะขอนำเสนอแนวทางในการพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามกรอบแนวคิด ดังนี้

การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์
การเผยแพร่วิสัยทัศน์
ประเมินผลเพื่อการปรับปรุงและแก้ไข
การสร้างวิสัยทัศน์
แนวคิด ความหมาย และความสำคัญของวิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์ หมายถึง ภาพในอนาคตขององค์กรที่ผู้บริหารและสมาชิก ขององค์กรร่วมกันวาดฝัน หรือจินตนาการขึ้นโดยมีพื้นฐานอยู่บนความจริง ในปัจจุบัน เชื่อมโยงวัตถุประสงค์ ภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อมั่นเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งพรรณนาให้เห็นทิศทางของสถานศึกษาอย่างชัดเจน มีพลังท้าทาย ทะเยอทะยาน และมีความเป็นไปได้ (รุ่ง, 2539: 129) วิสัยทัศน์จึงเป็นเสมือนพิมพ์เขียวของสภาพที่ต้องการเพื่อให้ทุกคนทำงานไปสู่ความสำเร็จในอนาคต วิสัยทัศน์ได้มาจากการวิเคราะห์ปัญหาขององค์กรบนพื้นฐานของข้อมูลที่มีอยู่ ในปัจจุบัน ร่วมกับการระดมความคิดหาแนวทางแก้ปัญหานั้นเพื่อให้ได้มา ซึ่งองค์กรอันพึงประสงค์ในอนาคต (บัณฑิต, 2540: 27) วิสัยทัศน์เป็นเรื่องของทุก ๆ คน แต่วิสัยทัศน์ไม่สามารถเกิดขึ้นกับทุกคนได้ หากไม่ได้รับการปลูกฝัง ไม่ได้รับการเรียนรู้จากสังคม (เกรียงศักดิ์, 2541: 65)

วิสัยทัศน์เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของผู้บริหารในการดำเนินกิจกรรมขององค์กร หากผู้บริหารปราศจากวิสัยทัศน์ก็จะไม่สามารถสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าและดำรงรักษาความเป็นองค์กรที่ดีไว้ได้ (Sergiovanni, 1987: 73) วิสัยทัศน์ทำให้ผู้บริหารมองเห็นว่าอะไรเป็นสิ่งสำคัญที่แท้จริงขององค์กร และสามารถกำหนดภาพในอนาคตขององค์กรได้ว่าต้องการให้เป็นอย่างไร เพื่อกำหนดกิจกรรม และแนวทางปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จตามต้องการโดยไม่เสียเวลากระทำการในสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และยังเป็นแรงกระตุ้นให้สมาชิกขององค์กรปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจอย่างเป็นพิเศษยิ่งกว่าธรรมดา (Duke, 1987: 51) วิสัยทัศน์จะช่วยสร้างความผูกพันและร้อยรัดพลังของสมาชิกเพื่อการบรรลุเป้าหมาย ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์จะสามารถสร้างวิสัยทัศน์ให้กับองค์กร และเปลี่ยนวิสัยทัศน์ให้เป็นสภาพที่เป็นจริง มองเห็นได้อย่างชัดเจนว่าเป้าหมายที่ต้องการให้เกิดคืออะไร จะต้องทำอะไร และทำอย่างไรจึงจะบรรลุเป้าหมายนั้น วิสัยทัศน์ที่แจ่มแจ้งชัดเจนนั้นมาจากการเข้าใจองค์กรอย่างถ่องแท้และลึกซึ้ง งานวิจัยและวรรณกรรมต่าง ๆ ได้ยืนยันว่า วิสัยทัศน์เป็นสิ่งจำเป็นและเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผู้บริหาร (เสริมศักดิ์, 2538: 6)

วิสัยทัศน์เป็นสิ่งสำคัญประการแรกที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมี และจะต้องเผยแพร่วิสัยทัศน์นั้นไปสู่คณะครู เพื่อให้สมาชิกกระทำกิจกรรมต่าง ๆ โดยมุ่งหวังให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น (Davis and Thomas, 1989: 22-23) การมีวิสัยทัศน์อย่างเดียวยังไม่เพียงพอ สิ่งสำคัญที่ผู้บริหารจะต้องกระทำให้ได้คือ การทำให้สมาชิกมีจิตผูกพันกับวิสัยทัศน์ สามารถหล่อหลอมวิสัยทัศน์นั้นลงสู่นโยบาย แผนงาน และกิจวัตรประจำวันภายในองค์กร ยินดีเสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น (Caldwell and Spinks, 1990: 174)
ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้บริหารสถานศึกษานอกจากจะมีวิสัยทัศน์แล้ว ยังต้องมีความสามารถในการเผยแพร่วิสัยทัศน์ให้สมาชิกเข้าใจ ยอมรับ และปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ให้บรรลุผลด้วย

มิติของวิสัยทัศน์

Braun (1991: 26) ได้กำหนดมิติของวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาเป็น 3 มิติ คือ การสร้างวิสัยทัศน์ (Formulated Vision) การเผยแพร่วิสัยทัศน์ (Articulated Vision) และการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ (Operational Vision)

การสร้างวิสัยทัศน์ หมายถึง การที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถสร้างภาพในอนาคตของสถานศึกษาได้อย่างชัดเจนว่าประสิทธิผลที่ดีที่สุดของสถานศึกษาที่ต้องการอย่างแท้จริงคืออะไร ทั้งนี้โดยอาศัยทักษะการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการสังเคราะห์ข้อมูลของผู้บริหารสถานศึกษา
Locke et al. (1991: 53-54) ได้เสนอแนวคิดว่า การสร้างวิสัยทัศน์ของผู้บริหารได้มาจากวิธีการดังต่อไปนี้

1. โดยการเก็บรวบรวมข้อมูล หมายถึง การสนทนาพูดคุย และ ฟังความคิดเห็นจากบุคคลต่าง ๆ ทั้งในองค์กรและนอกองค์กร

2. โดยกระบวนการจัดกระทำข้อมูล หมายถึง การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่ เพื่อนำไปกำหนดวิสัยทัศน์ของผู้บริหารซึ่งต้องอาศัยความรู้ความสามารถของผู้บริหารในเรื่อง การมีสายตายาวไกล ความเข้าใจ วัฒนธรรมขององค์กร ความเข้าใจถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นและแนวโน้มของโลกในอนาคต ความสามารถในการมองเห็นภาพรวมขององค์กร ความสามารถในการคาดคะเนแรงต่อต้านที่อาจจะเกิดขึ้น ความพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองได้ตลอดเวลา

3. โดยการถ่ายทอดวิสัยทัศน์ของตนออกมาเป็นถ้อยคำได้อย่างชัดเจน มีพลังในการกระตุ้นให้สมาชิกทุกคนทำงานเพื่อเป้าหมายขององค์กร ทั้งนี้ถ้อยคำ ที่แสดงวิสัยทัศน์นั้นควรมีลักษณะย่นย่อ ชัดเจน ท้าทาย มุ่งอนาคต มั่นคง ปรารถนาที่จะบรรลุให้ได้

4. โดยการประเมินผลเป็นระยะ หมายถึง การทดสอบว่าวิสัยทัศน์นั้นสอดคล้องกับความรู้ความสามารถของสมาชิกในองค์กรหรือไม่ หากได้คำตอบปฏิเสธ ผู้บริหารก็จะต้องนำวิสัยทัศน์นั้นมาพิจารณาเพื่อปรับเปลี่ยนต่อไป

เสริมศักดิ์ (2538: 4) ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า การสร้างวิสัยทัศน์ เป็นการสร้างความฝันที่เป็นจริง หรือเป็นการสร้างพิมพ์เขียวขององค์กรที่มีความเป็นเลิศในอนาคต การสร้างวิสัยทัศน์จะต้องศึกษาองค์กรอย่างลึกซึ้ง มีข้อมูลอย่างชัดเจนเกี่ยวกับจุดเด่น จุดด้อยของบุคคล สถานที่ ทรัพยากร และเวลา วิสัยทัศน์ ที่สร้างขึ้นจำเป็นต้องสอดคล้องกับสภาพแวดล้อม วิธีการที่ดีอย่างหนึ่งในการสร้างวิสัยทัศน์ก็คือ การสร้างวิสัยทัศน์โดยการให้มีส่วนร่วม (Shared Vision) ในขณะที่สมศักดิ์ (2540: 13) มีความคิดเห็นว่า การสร้างวิสัยทัศน์ควรกำหนดขึ้นโดยผู้บริหาร (Leader Initiate) มิได้กำหนดโดยกลุ่มบุคคล ซึ่งผู้บริหารที่ดีจะต้องรู้จักสนทนาและรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกแล้วนำมาพิจารณาว่าโลกปัจจุบันเป็นเช่นไร นำข้อมูลผนึกเข้าเป็นวิสัยทัศน์ แล้วหาวิธีการที่จะมุ่งสู่วิสัยทัศน์นั้น ในการสร้างวิสัยทัศน์จำเป็นต้องคำนึงถึงศีลธรรม จริยธรรม เพื่อให้ทิศทางที่จะมุ่งไปมีความถูกต้อง ตัวแปรที่สำคัญในการสร้างวิสัยทัศน์คือ ทักษะด้านความคิดรวบยอด (Conceptual Skills) อันเป็นทักษะที่สำคัญยิ่งของผู้บริหารโรงเรียน โดยเฉพาะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์(Creative Thinking) ที่พัฒนาให้ผู้บริหารมองกว้าง คิดไกล ทันสมัย และเฉียบแหลม

การเผยแพร่วิสัยทัศน์ หมายถึง การที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถสื่อสารให้สมาชิกมีความเข้าใจในวิสัยทัศน์ของตนได้อย่างชัดเจน ยอมรับ และเต็มใจที่จะปฏิบัติงานทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้น

Ellis and Joslin (1990: 8) มีความเห็นว่า การสร้างวิสัยทัศน์ขึ้นมาได้นั้นยังไม่สำคัญเท่ากับความสามารถในการเผยแพร่วิสัยทัศน์ไปยังสมาชิกทุกคนขององค์กรให้มีความคิดเห็นคล้อยตาม และเต็มใจที่จะปฏิบัติกิจกรรมทั้งหลายเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์นั้นซึ่งวิธีการที่ดีที่สุดคือ การให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงเพื่อมุ่งไปยังวิสัยทัศน์ของสถานศึกษาที่กำหนดไว้ นั่นคือ เปลี่ยนสภาพของวิสัยทัศน์ส่วนบุคคลเป็นวิสัยทัศน์ของส่วนรวม จุดมุ่งหมายของการเผยแพร่วิสัยทัศน์คือ การทำให้สมาชิกขององค์กรยอมรับวิสัยทัศน์นั้น เป็นของตน ผู้บริหารจึงต้องมีศิลปะในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและค่านิยมของสมาชิก มีวิธีการสื่อสารที่มีประสิทธิผลในการอธิบายและโน้มน้าวให้สมาชิกขององค์กรเข้าใจและยอมรับวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ หมายถึง การที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถนำวิสัยทัศน์ไปสู่การปฏิบัติจริงได้เป็นผลสำเร็จ ทั้งนี้โดยวิธีการหลอมวิสัยทัศน์ของตนลงไปสู่นโยบาย เป้าหมาย แผนงาน โครงการ กิจวัตรประจำวันของสถานศึกษา และโดยการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับคณะครู

Sashkin (1988: 247) ได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่า ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ได้ 2 แนวทาง คือ

1. โดยการหลอมวิสัยทัศน์นั้นลงในปรัชญาของสถานศึกษา และกำหนดนโยบาย โครงการ เพื่อนำปรัชญาของสถานศึกษาไปปฏิบัติจริง

2. โดยการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสมาชิกแต่ละคน ซึ่งผู้บริหาร
สถานศึกษาควรมีคุณลักษณะ 5 ประการ คือ มีทักษะการสื่อสารที่ดี แสดงออกถึงวิสัยทัศน์ของตนอย่างเด่นชัด วางตนให้เป็นที่ไว้วางใจได้ มีความมั่นใจในตนเอง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

การนำวิสัยทัศน์ไปปฏิบัติจะบรรลุผลเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถทางการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา โดยเฉพาะการมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ การเป็นผู้สื่อสารที่ดี และความสามารถในการทำงานร่วมกับบุคคลที่มีลักษณะต่าง ๆ ได้ทุกสถานการณ์ (Scheive and Schoenheit, 1987: 102)
สรุปได้ว่า วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเป้าหมายชัดเจน การตั้งเป้าหมายว่าองค์กรจะไปทางใดนั้นเป็นภารกิจเพียงครึ่งเดียวของผู้บริหารสถานศึกษา ภารกิจอีกครึ่งหนึ่งก็คือ ผู้บริหารจะต้องเผยแพร่หรือสื่อสารให้สมาชิกทราบในวิสัยทัศน์ของตน มีความเห็นพ้องกันในวิสัยทัศน์นั้น และร่วมพลังในการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์

เครื่องมือวัดวิสัยทัศน์

เครื่องมือวัดวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่สามารถตรวจสอบวิสัยทัศน์ได้ครอบคลุมสาระสำคัญมากกว่าเครื่องมือชนิดอื่น คือ Leadership Vision Questionnaire-Principal (LVQ-P) ซึ่งสร้างขึ้นโดย Braun (1991) และศาสตราจารย์ ดร.เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ได้แปลและปรับให้สอดคล้องกับบริบทของไทย ลักษณะเครื่องมือประกอบด้วยข้อคำถาม 32 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ช่วงคะแนน เพื่อตรวจสอบวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา 3 มิติ คือ การสร้างวิสัยทัศน์ การเผยแพร่วิสัยทัศน์ และการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ โดยมีวิธีการคิดคะแนน 2 ระดับคือ ระดับที่ 1 คิดคะแนนรวมแยกเป็นแต่ละมิติ และระดับที่ 2 คิดคะแนนเฉลี่ยของคะแนนรวมทั้ง 3 มิติ จะได้คะแนนที่เป็นค่าแสดงถึงระดับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาแต่ละคน ซึ่งได้กำหนดการแปลค่าคะแนนเฉลี่ยของแบบวัดวิสัยทัศน์ไว้ดังนี้

1.00 – 1.80 แสดงว่า มีวิสัยทัศน์อยู่ในระดับต่ำ
1.81 – 3.20 แสดงว่า มีวิสัยทัศน์อยู่ในระดับปานกลาง
3.21 – 4.00 แสดงว่า มีวิสัยทัศน์อยู่ในระดับสูง

การวัดวิสัยทัศน์จะช่วยให้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถประเมินตนเองได้ว่ามีวิสัยทัศน์อยู่ในระดับใด วิสัยทัศน์ในมิติใดที่สมควรได้รับการพัฒนาเพื่อให้เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ดี ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษาสามารถพัฒนาวิสัยทัศน์ได้ตามแนวทางดังต่อไปนี้

แนวทางในการพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา

วิสัยทัศน์มิใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมความรอบรู้และประสบการณ์ที่มากพอ วิสัยทัศน์สามารถสร้างได้ พัฒนาได้

การสร้างวิสัยทัศน์

ในการสร้างวิสัยทัศน์มีประเด็นที่ควรพิจารณา ดังนี้

1. ผู้บริหารจะต้องเข้าใจองค์กร ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องเข้าใจองค์กรอย่างลึกซึ้ง เข้าใจภารกิจ เป้าหมาย และวัตถุประสงค์เดิมขององค์กร เข้าใจวัฒนธรรมขององค์กร เข้าใจความต้องการและค่านิยมของสมาชิก ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องวิเคราะห์องค์กรเพื่อหาจุดแข็ง จุดอ่อนขององค์กร

2. ผู้บริหารจะต้องเข้าใจสภาพแวดล้อม เนื่องจากสถานศึกษาเป็นระบบสังคมซึ่งได้รับผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม ผู้บริหารสถานศึกษาจำเป็นจะต้องศึกษาสภาพปัจจุบันของสิ่งแวดล้อม และศึกษาแนวโน้มของสิ่งแวดล้อม รวมทั้งวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมเพื่อแสวงหาโอกาส และหลีกเลี่ยงความเสี่ยงหรืออุปสรรค

ทั้งนี้การที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะเข้าใจองค์กรและสภาพแวดล้อมนั้นจำเป็นจะต้องมีข้อมูลที่ทันสมัยและเชื่อถือได้ การแสวงหาข้อมูลจึงต้องหาข้อมูลทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ

ในการสร้างวิสัยทัศน์นั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในด้านต่อไปนี้ (เสริมศักดิ์, 2538:27)
1. การมองการณ์ไกล
2. การมองย้อนกลับไปข้างหลัง
3. การมองผลกระทบและแนวโน้มต่าง ๆ
4. การมององค์กรในภาพรวม
5. การคาดคะเนแรงต่อต้านต่าง ๆ
6. การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กร
7. การมีความมุ่งมั่นหรือความสนใจที่จะเปลี่ยนแปลง
8. การทดสอบว่าวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นนั้นสอดคล้องกับเป้าหมายของ
องค์กร และความสามารถของสมาชิกในองค์กรหรือไม่

การเผยแพร่วิสัยทัศน์

เมื่อผู้บริหารสถานศึกษาสามารถสร้างวิสัยทัศน์ขึ้นมาได้แล้วจำเป็นต้องเผยแพร่วิสัยทัศน์นั้นให้สมาชิกได้รับรู้ เข้าใจ และยอมรับ เพื่อเปลี่ยนสภาพวิสัยทัศน์ส่วนบุคคลให้เป็นวิสัยทัศน์ขององค์กร เพราะสมาชิกจะไม่ทำงานเพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ที่ผู้บริหารสร้างขึ้นหากสมาชิกไม่ยอมรับในวิสัยทัศน์นั้น ดังนั้น จึงควรให้สมาชิกได้มีส่วนร่วมตั้งแต่เริ่มต้น วิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นจะกลายเป็นภารกิจที่จะต้องลงมือปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังนั้น การเผยแพร่วิสัยทัศน์จึงเป็นการเชื่อมโยงระหว่างวิสัยทัศน์ ภารกิจ และการปฏิบัติ

ในการเผยแพร่วิสัยทัศน์นั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

1. ทักษะในการติดต่อสื่อสาร ผู้บริหารควรพัฒนาทักษะในการพูด การฟัง การเขียน และการแสดงภาษาท่าทาง เพื่อให้สมาชิกเข้าใจวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้น

2. ทักษะในการทำตนเป็นแบบอย่าง (Role Model) เนื่องจากวิสัยทัศน์ ที่สร้างขึ้นจะกลายเป็นภารกิจขององค์กร ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรแสดงให้เห็นว่า วิสัยทัศน์นั้นมีความเป็นไปได้ สามารถปฏิบัติให้บรรลุผลได้โดยการปฏิบัติให้ดูเป็นแบบอย่าง ซึ่งการทำตนเป็นแบบอย่างนี้ผู้บริหารจะต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์

การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ เป็นการนำวิสัยทัศน์ที่สร้างไปสู่การปฏิบัติจริงโดยความร่วมมือ ทุ่มเทกำลังกาย ความคิด และความพยายามของสมาชิก เพื่อให้วิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นนั้นเป็นผลสำเร็จ นั่นคือเป็นการรวมพลังเพื่อบรรลุสภาพการณ์ในอนาคตที่พึงปรารถนา ซึ่งเป็นการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องบูรณาการวิสัยทัศน์ที่สร้างขึ้นให้เข้ากับปรัชญา นโยบาย แผนงาน และโครงการของสถานศึกษา และปฏิบัติตามจนกระทั่งบังเกิดผล

ในการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์นั้น ผู้บริหารสถานศึกษาควรพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในด้านต่าง ๆ ดังนี้

1. ทักษะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ จำเป็นจะต้องนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์กร เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนวิธีดำเนินการเพื่อการบรรลุเป้าหมายที่แตกต่างหรือสูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งจะก่อให้เกิดแรงต่อต้าน ความวิตกกังวล ความเครียด และความขัดแย้ง ด้วยเหตุนี้ผู้บริหารจึงควรพัฒนาทักษะในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
2. ทักษะในการทำงานกับคน การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์เป็นการรวบรวมพลังทรัพยากรต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทรัพยากรมนุษย์ ผู้บริหารจึงควรพัฒนา การสื่อสารแบบ 2 ทางระหว่างผู้บริหารกับสมาชิกใน 3 ประเด็น คือ ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น และการยอมรับความคิดเห็น

3. ทักษะการสร้างแรงจูงใจ การทำงานของสมาชิกในองค์กรเป็นผลจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างความสามารถและแรงจูงใจ ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรมีทักษะในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดแก่สมาชิก

4. ทักษะในการมอบหมายงาน ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีทักษะในการมอบหมายงาน ทั้งนี้เพราะการมอบหมายงานจะทำให้เกิดการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วม ซึ่งจะทำให้สมาชิกมีอิสระในการทำงาน เกิดความผูกพัน เกิดความรู้สึกเป็นเจ้าของ และมีความรับผิดชอบมากขึ้น

5. ทักษะในการปรับโครงสร้างองค์กร ผู้บริหารสถานศึกษาควรปรับโครงสร้างองค์กรเพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับภารกิจที่จะต้องปฏิบัติ

การประเมินผลเพื่อการปรับปรุงและแก้ไข

วิสัยทัศน์ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถกำหนดภาพในอนาคต ที่ต้องการได้ ขณะเดียวกันผู้บริหารก็ต้องทำการเปลี่ยนแปลงบางสิ่งบางอย่าง เพื่อนำสถานศึกษาไปสู่วิสัยทัศน์ที่กำหนด ซึ่งเป็นสิ่งที่ยาก และมักจะล้มเหลว เนื่องจากธรรมชาติของบุคคลก็ดี ขององค์กรก็ดีย่อมมีการต่อต้านเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
ดังนั้น ผู้บริหารสถานศึกษาจึงควรมีการประเมินผลเป็นระยะเพื่อทดสอบว่าวิสัยทัศน์นั้นสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร สอดคล้องกับความสามารถของสมาชิกในองค์กรหรือไม่ หากได้คำตอบปฏิเสธ ผู้บริหารสถานศึกษาก็จะต้องนำวิสัยทัศน์นั้นมาพิจารณาเพื่อปรับเปลี่ยนต่อไป ผู้บริหารที่ดีควรมองการสร้างวิสัยทัศน์ การเผยแพร่วิสัยทัศน์ การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ และการประเมินผล เพื่อการปรับปรุงและแก้ไขให้มีความเชื่อมโยงกัน

บทสรุป

วิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา เป็นคุณสมบัติของผู้บริหารที่สามารถมองเห็นภาพในอนาคตของสถานศึกษาที่ต้องการจะให้เป็นไปได้อย่างชัดเจนโดยภาพนั้นต้องสอดคล้องกับเป้าหมายของสถานศึกษา มีความเป็นไปได้ และสามารถมองเห็นวิธีการปฏิบัติที่จะนำสถานศึกษาให้บรรลุความต้องการนั้น วิสัยทัศน์เป็นภาพอันชัดเจนที่สะท้อนให้เห็นเป้าหมาย ค่านิยม ปรัชญา และความเชื่อที่สมาชิกของสถานศึกษาร่วมกันยึดถือ วิสัยทัศน์ที่แท้จริงต้องเป็นวิสัยทัศน์ร่วมที่สมาชิกช่วยกันผลักดันสานฝัน อันเป็นผลจากความสามารถคิดอ่านผสานเข้ากับประสบการณ์ทั้งทางตรงและทางอ้อมของสมาชิก และเป็นผลจากความสามารถในการเก่งคิด เก่งคน และเก่งงานของผู้บริหารสถานศึกษา วิสัยทัศน์จะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีเป้าหมายที่ชัดเจน

วิสัยทัศน์เป็นสิ่งสำคัญประการแรกที่ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมี เพราะวิสัยทัศน์เป็น Roadmap ให้ทุกคนในสถานศึกษาได้ใช้เป็นประทีปนำทางในการปฏิบัติงาน ผู้บริหารที่มีวิสัยทัศน์ที่แท้จริงนั้นจะต้องมีกระบวนการลีลาของวิสัยทัศน์ครบทั้ง 3 มิติคือ คิดได้ (การสร้างวิสัยทัศน์) สื่อเป็น (การเผยแพร่วิสัยทัศน์) และโน้มนำให้มีการปฏิบัติล่วงหน้า (การปฏิบัติตามวิสัยทัศน์) พร้อมทั้งมีการประเมินผลเพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบด้วย

เอกสารและสิ่งอ้างอิง

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. 2541. มองฝันวันข้างหน้า: วิสัยทัศน์ประเทศไทย
ปี 2560. กรุงเทพฯ: ซัคเซส มีเดีย.

บัณฑิต แท่นพิทักษ์. 2540. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ อำนาจ ความศรัทธา
และความพึงพอใจ ในงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา. วิทยานิพนธ์
ปริญญาเอก, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, ประสานมิตร.

รุ่ง แก้วแดง. 2539. รีเอ็นจิเนียริ่งระบบราชการไทย ภาค 2. กรุงเทพฯ:
สำนักพิมพ์มติชน.

สมศักดิ์ ดลประสิทธิ์. 2540. วิสัยทัศน์ (VISION): พลังแห่งความสำเร็จ.
การศึกษาเอกชน 7(70): 13-14.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. 2538. วิสัยทัศน์ของผู้บริหารการศึกษา. ในประมวล
สาระชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพมหาบัณฑิตบริหารการศึกษา. เล่มที่ 1.
หน่วยที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552

รูปแบบการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะใน 3 จชต."

บทย่องานวิจัย"รูปแบบการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะใน 3 จชต."
ผลงานของ นายสนั่น พาหอม ผู้อำนวยการสำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 11 สงขลา

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) กลุ่มเป้าหมายผู้ร่วมปฏิบัติการได้แก่ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม โต๊ะครูและผู้เกี่ยวข้องอื่นในพื้นที่ รวม 308 คน กลุ่มตัวอย่างในการประเมินผลการพัฒนาของสถาบันศึกษาปอเนาะ ได้แก่ โต๊ะครูที่ร่วมปฏิบัติการ ส่วนกลุ่มตัวอย่างในการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบ ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของสถาบันศึกษาปอเนาะ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม และโต๊ะครู จำนวน 100 คน แบบสนทนากลุ่มกำหนดปัญหาและความต้องการ แบบสนทนากลุ่มกำหนดแนวทางการพัฒนา แบบประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันศึกษาปอเนาะและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยการหาความตรงในเนื้อหาด้วยการหาดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เป็นเครื่องมือการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การจัดส่งแบบและรวบรวมแบบคืนทางไปรษณีย์และการจัดส่งแบบและรวบรวมคืนด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความแตกต่างระหว่างฐานนิยมและมัธยฐาน (Mo-Md) และค่าพิสัยควอไทล์ (Q.D.) เป็นสถิติในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สถาบันศึกษาปอเนาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนและต่อเนื่องในนโยบายสนับสนุนของรัฐ อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม บุคลากรขาดโอกาสในการพัฒนาตนเอง หลักสูตรไม่เอื้อต่อการถ่ายโอนผลการเรียน การวัดและประเมินผลรวมทั้งการบริหารจัดการยังขาดประสิทธิภาพ ต้องการการสนับสนุนจากรัฐอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาหลักสูตรกลางเป็นตัวแบบ และต้องการสนับสนุนช่วยเหลือกันในการพัฒนา 2. สถาบันศึกษาปอเนาะจำเป็นต้องพัฒนา ทั้งด้านวิชาการ อาคารสถานที่ การบริหารการเงินและธุรการ การพัฒนาบุคลากรและการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โดยการพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง การร่วมมือช่วยเหลือกัน การพัฒนาตามสภาพจริง การระดมสรรพกำลังจากทุกฝ่าย และการกำหนดกรอบกิจกรรมสำหรับการพัฒนาในแต่ละระดับ 3. สถาบันศึกษาปอเนาะที่ร่วมปฏิบัติการได้นำแนวทางการพัฒนาที่กำหนดร่วมกันไปใช้เป็นแนวทางใน การพัฒนา และได้ดำเนินการพัฒนาตามแนวทางที่กำหนดในระดับมากที่สุด 4. รูปแบบการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะที่พัฒนาขึ้น เป็นรูปแบบความคิดเชิงยุทธศาสตร์ กำหนดให้สถาบันเป็นสถาบันสอนศาสนาและการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรมและสร้างชุมชนเข้มแข็ง ดำเนินการพัฒนาใน 5 พันธกิจ ได้แก่ การพัฒนาอาคารสถานที่ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การพัฒนาชุมชน โดยมีเป้าประสงค์ที่จะให้สถาบันศึกษาปอเนาะเป็นสถาบันน่าอยู่ ครูมีคุณภาพ ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และเป็นสถาบันของชุมชน ใช้ 3 กลยุทธ์หลักในการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาแบบพึ่งตนเอง การสร้างเครือข่ายการพัฒนา การสร้างคุณภาพถ้วนหน้า พร้อมทั้งกำหนดกรอบกิจกรรมการพัฒนาไว้ชัดเจนในแต่ละระดับ ให้ส่งผลต่อความร่วมมือและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ 5. ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะ ทั้งผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม และ โต๊ะครู มีความเห็นสอดคล้องกันเป็นฉันทามิติว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ มีความเหมาะสมและความเป็นได้ในระดับมาก

งานวิจัยรูปแบบการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะใน 3 จชต.

บทย่องานวิจัย"รูปแบบการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะใน 3 จชต."
ผลงานของ นายสนั่น พาหอม ผู้อำนวยการสำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 11 สงขลา

บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) กลุ่มเป้าหมายผู้ร่วมปฏิบัติการได้แก่ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม โต๊ะครูและผู้เกี่ยวข้องอื่นในพื้นที่ รวม 308 คน กลุ่มตัวอย่างในการประเมินผลการพัฒนาของสถาบันศึกษาปอเนาะ ได้แก่ โต๊ะครูที่ร่วมปฏิบัติการ ส่วนกลุ่มตัวอย่างในการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ของรูปแบบ ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาของสถาบันศึกษาปอเนาะ ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม และโต๊ะครู จำนวน 100 คน แบบสนทนากลุ่มกำหนดปัญหาและความต้องการ แบบสนทนากลุ่มกำหนดแนวทางการพัฒนา แบบประเมินผลการดำเนินงานของสถาบันศึกษาปอเนาะและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ และมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยการหาความตรงในเนื้อหาด้วยการหาดัชนีความสอดคล้อง (IOC) และความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา เป็นเครื่องมือการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม การจัดส่งแบบและรวบรวมแบบคืนทางไปรษณีย์และการจัดส่งแบบและรวบรวมคืนด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ใช้ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าความแตกต่างระหว่างฐานนิยมและมัธยฐาน (Mo-Md) และค่าพิสัยควอไทล์ (Q.D.) เป็นสถิติในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1. สถาบันศึกษาปอเนาะในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้มีปัญหาเกี่ยวกับความไม่ชัดเจนและต่อเนื่องในนโยบายสนับสนุนของรัฐ อาคารสถานที่และสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม บุคลากรขาดโอกาสในการพัฒนาตนเอง หลักสูตรไม่เอื้อต่อการถ่ายโอนผลการเรียน การวัดและประเมินผลรวมทั้งการบริหารจัดการยังขาดประสิทธิภาพ ต้องการการสนับสนุนจากรัฐอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาหลักสูตรกลางเป็นตัวแบบ และต้องการสนับสนุนช่วยเหลือกันในการพัฒนา 2. สถาบันศึกษาปอเนาะจำเป็นต้องพัฒนา ทั้งด้านวิชาการ อาคารสถานที่ การบริหารการเงินและธุรการ การพัฒนาบุคลากรและการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โดยการพัฒนาที่เน้นการพึ่งตนเอง การร่วมมือช่วยเหลือกัน การพัฒนาตามสภาพจริง การระดมสรรพกำลังจากทุกฝ่าย และการกำหนดกรอบกิจกรรมสำหรับการพัฒนาในแต่ละระดับ 3. สถาบันศึกษาปอเนาะที่ร่วมปฏิบัติการได้นำแนวทางการพัฒนาที่กำหนดร่วมกันไปใช้เป็นแนวทางใน การพัฒนา และได้ดำเนินการพัฒนาตามแนวทางที่กำหนดในระดับมากที่สุด 4. รูปแบบการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะที่พัฒนาขึ้น เป็นรูปแบบความคิดเชิงยุทธศาสตร์ กำหนดให้สถาบันเป็นสถาบันสอนศาสนาและการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรมและสร้างชุมชนเข้มแข็ง ดำเนินการพัฒนาใน 5 พันธกิจ ได้แก่ การพัฒนาอาคารสถานที่ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการ การพัฒนาชุมชน โดยมีเป้าประสงค์ที่จะให้สถาบันศึกษาปอเนาะเป็นสถาบันน่าอยู่ ครูมีคุณภาพ ผู้เรียนมีความรู้คู่คุณธรรม มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และเป็นสถาบันของชุมชน ใช้ 3 กลยุทธ์หลักในการพัฒนา ได้แก่ การพัฒนาแบบพึ่งตนเอง การสร้างเครือข่ายการพัฒนา การสร้างคุณภาพถ้วนหน้า พร้อมทั้งกำหนดกรอบกิจกรรมการพัฒนาไว้ชัดเจนในแต่ละระดับ ให้ส่งผลต่อความร่วมมือและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ 5. ผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถาบันศึกษาปอเนาะ ทั้งผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ เจ้าหน้าที่ส่งเสริม และ โต๊ะครู มีความเห็นสอดคล้องกันเป็นฉันทามิติว่า รูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ มีความเหมาะสมและความเป็นได้ในระดับมาก